การส่งเสริมธุรกิจประกันภัยให้ยั่งยืน ด้วยปัจจัย ESG

การส่งเสริมธุรกิจประกันภัยให้ยั่งยืน ด้วยปัจจัย ESG

ธุรกิจประกันภัยทั้งในและต่างประเทศ ต่างให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG ธุรกิจในภาคประกันภัย จำต้องปรับตัวรองรับกับทิศทางดังกล่าว เพื่อร่วมสร้างให้เกิดระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน !

เป็นเวลากว่า 30 ปี ที่ข้อริเริ่มด้านการเงินของสำนักงานโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP FI) ได้เชื่อมร้อยองค์การสหประชาชาติกับสถาบันการเงินทั่วโลกในการกำหนดวาระด้านการเงินที่ยั่งยืน และสร้างกรอบการทำงานด้านความยั่งยืนที่สำคัญระดับโลกในการช่วยเหลืออุตสาหกรรมการเงินรับมือกับความท้าทายต่อประเด็น ESG ในระดับสากล

ธุรกิจ

กรอบความยั่งยืนที่ UNEP FI ได้ริเริ่มและร่วมจัดทำ ประกอบด้วย

หลักการธนาคารที่รับผิดชอบ (Principles for Responsible Banking: PRB) ที่เปิดตัวในเดือนกันยายน พ.ศ.2562 ปัจจุบัน มีธนาคารกว่า 300 แห่ง มีสัดส่วนเกือบครึ่งของอุตสาหกรรมธนาคารในโลก เข้าร่วมลงนาม

หลักการประกันภัยที่ยั่งยืน (Principles for Sustainable Insurance: PSI) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2555 โดย UNEP FI ปัจจุบัน มีสมาชิกกว่า 200 ราย ประกอบด้วย บริษัทประกันที่ลงนามเป็นภาคี PSI จำนวน 132 แห่ง (ถือเบี้ยประกันภัยรวมทั่วโลกอยู่ราว 33%) และสถาบันสนับสนุน PSI อีกจำนวน 97 แห่ง ในบรรดาข้อริเริ่มที่จัดทำขึ้น PSI นับเป็นแนวทางของอุตสาหกรรมในการผนวกการพิจารณาความเสี่ยงด้าน ESG ครอบคลุมทั้งธุรกิจประกันชีวิต ประกันสุขภาพ และประกันวินาศภัย

หลักการลงทุนที่รับผิดชอบ (Principles for Responsible Investment: PRI) เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2549 โดยความร่วมมือระหว่าง UNEP FI และ UN Global Compact ปัจจุบัน มีผู้ลงทุนสถาบันราวครึ่งโลก (มีขนาดสินทรัพย์รวมกันราว 83 ล้านล้านเหรียญ) เข้าร่วมลงนาม

กรอบดังกล่าวข้างต้น ได้กลายเป็นบรรทัดฐานด้านการเงินที่ยั่งยืน เป็นพื้นฐานสำหรับการกำหนดมาตรฐาน และช่วยให้มั่นใจว่าระบบการเงินภาคเอกชนดำรงบทบาทอย่างเต็มศักยภาพในการสนับสนุนการบรรลุวาระการพัฒนาที่ยั่งยืน ค.ศ.2030 และความตกลงปารีสว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลทั่วโลกในปี ค.ศ.2015

ESG เป็นแกนหลักของ Sustainable Insurance

การประกันภัยที่ยั่งยืน เป็นแนวดำเนินงานเชิงกลยุทธ์ ที่ซึ่งกิจกรรมทั้งปวงในสายคุณค่าประกันภัย รวมทั้งการปฏิสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสีย ถูกดำเนินการอย่างรับผิดชอบและคาดการณ์ล่วงหน้า ด้วยการระบุ การประเมิน การบริหาร และการเฝ้าสังเกตความเสี่ยงและโอกาสที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประเด็น ESG ทั้งนี้ การประกันภัยที่ยั่งยืน มุ่งที่จะลดความเสี่ยง พัฒนาการแก้ปัญหาเชิงนวัตกรรม ปรับปรุงผลประกอบการทางธุรกิจ และสนับสนุนความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ความริเริ่มว่าด้วยหลักการประกันภัยที่ยั่งยืน เป็นกรอบการทำงานระดับสากลสำหรับอุตสาหกรรมประกันภัยที่คำนึงถึงความเสี่ยงและโอกาสด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) และเป็นความริเริ่มระดับสากลที่ใช้เสริมแรงสนับสนุนของอุตสาหกรรมประกันภัยในฐานะผู้บริหารความเสี่ยงภัย ผู้รับประกันภัย และผู้ลงทุน ในอันที่จะก่อให้เกิดเศรษฐกิจและประชาคมที่ยั่งยืน ทั่วถึง และพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง บนโลกที่มีสุขภาวะ

การส่งเสริม ESG ในธุรกิจประกันภัยไทย

ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้มีการบรรจุเรื่อง ESG ไว้ในแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2564 – 2568) โดยส่งเสริมให้ธุรกิจประกันภัยเป็นส่วนหนึ่ง ที่ผลักดันให้สังคมโดยรวม มีความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

ด้วยมาตรการที่จะส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยเพื่อเสริมสร้างความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เช่น การประกันภัยต้นไม้เพื่อส่งเสริมการปลูกต้นไม้ การพิจารณาปรับลดเบี้ยประกันภัยให้กับอุตสาหกรรมสีเขียว หรือรถยนต์ไฟฟ้า ฯลฯ

การนำมาตรการจูงใจให้บริษัทประกันภัยดำเนินธุรกิจที่สอดคล้องกับหลักการ ESG มาใช้ เช่น มาตรการทางภาษีและการให้รางวัลแก่บริษัทประกันภัยที่ดำเนินธุรกิจตามหลัก ESG

รวมทั้งมาตรการที่จะส่งเสริมให้ภาคธุรกิจประกันภัยสนับสนุนธุรกิจในอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่มีการดำเนินงานโดยคำนึงถึงความยั่งยืนทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เช่น การลงทุนในโครงการที่มีธรรมาภิบาล คำนึงถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือลงทุนในกองทุนที่ได้รับการจัดอันดับ ESG จากหน่วยงานประเมินด้าน ESG โดยบริษัทประกันภัยจะได้รับสิทธิประโยชน์จากการลงทุนในโครงการหรือกองทุนดังกล่าว เป็นต้น

ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ. ยังได้มีการตั้งคณะทำงานการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) ขึ้น เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานของสำนักงาน โดยนำหลักการ ESG มาปรับใช้อย่างเป็นรูปธรรม และให้เกิดความยั่งยืน

เข็มมุ่งของธุรกิจในทุกสาขา รวมถึงธุรกิจประกันภัยทั้งในและต่างประเทศ ต่างให้ความสำคัญกับเรื่อง ESG ธุรกิจในภาคประกันภัย จำต้องปรับตัวรองรับกับทิศทางดังกล่าว เพื่อร่วมสร้างให้เกิดระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

ติดตามข่าวธุรกิจและข่าวอื่นๆ ที่น่าสนใจได้ที่นี่ : มาอีกห้าง ‘THE EMSPHERE’

มาอีกห้าง ‘THE EMSPHERE’

มาอีกห้าง ‘THE EMSPHERE’ เปิดบริการ ธ.ค. ปีหน้า ไฮไลท์ IKEA ใจกลางเมือง – แหล่งแฮงเอาท์กลางคืน – ฮอลล์ 6 พันที่นั่ง

 

ข่าวธุระกิจ

หลังจากก่อตั้ง ดิ เอ็มโพเรียม (THE EMPORIUM) ในปี 1997 และเปิดตัว ดิ เอ็มควอเทียร์ (THE EMQUARTIER) ในปี 2015 ก็เป็นที่แน่นอนแล้วว่า ขอเพียงเดอะมอลล์ กรุ๊ป (Tha Mall Group) ได้เตรียมส่งโครงการ ดิ เอ็ม ดิสทริค (THE EM DISTRICT) เข้ายึดครองความเป็นหนึ่งในย่านสุขุมวิท

เพราะโครงการดิ เอ็ม ดิสทริค (THE EM DISTRICT) บนเนื้อที่ 50 ไร่ พื้นที่กว่า 650,000 ตร.ม.

จะประกอบไปด้วย 3 ศูนย์การค้าใหญ่ใจกลางเมืองที่มีแนวคิดต่างกันอย่าง

– ดิ เอ็มโพเรียม (THE EMPORIUM) ใต้แนวคิด ที่สุดแห่งความมีระดับ

– ดิ เอ็มควอเทียร์ (THE EMQUARTIER) ใต้แนวคิด มิติใหม่ของรูปแบบชีวิตที่ไม่ธรรมดา

และโครงการสุดท้ายอย่าง ‘ดิ เอ็มสเฟียร์’ (THE EMSPHERE)

ใต้แนวคิด ศูนย์การค้าแห่งอนาคตที่ไม่เคยหลับไหล

โดยโครงการ ‘ดิ เอ็มสเฟียร์’ (THE EMSPHERE) มีพื้นที่กว่า 200,000 ตร.ม.

ประกอบด้วยโซนหลักๆ อย่าง

– EM GALLERIA โซนสินค้าแฟชันแบรนด์ระดับโลกและแบรนด์ไทย อาทิ

– EM LIFESTYLE โซนสินค้าไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่

– EM MERCADO โซนอาหารศูนย์รวม International food market ทั้งสตรีทฟู้ดและร้านชั้นนำ

– EM WONDER โซนแหล่งแฮงค์เอาท์กลางคืน มีบีชคลับ บาร์ ไนท์คลับ เลาจ์ ตลอด 24 ชม. ฯลฯ

– EM INNOVATION โซนสินค้านวัตกรรมจากแบรนด์ทั่วโลก

อัพเดทข่าวธุระกิจแนะนำข่าวเพิ่มเติม >>พาณิชย์ เตรียมเสนอครม.เคาะประกันรายได้มันสำปะหลัง

พาณิชย์ เตรียมเสนอครม.เคาะประกันรายได้มันสำปะหลัง

พาณิชย์ เตรียมเสนอครม.เคาะประกันรายได้มันสำปะหลังต่อเนื่อง คาดใช้งบกว่า 5 พันลบ.

 

ข่าวธุรกิจวันนี้

 

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) ครั้งที่ 2/2565 มีมติเห็นชอบให้เดินหน้าโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังปี 4 ต่อไป โดยเงื่อนไขเหมือนกับ 3 ปีที่ผ่านมาทุกประการ คือ ประกันรายได้กิโลกรัมละ 2.50 บาท ไม่เกินครัวเรือนละ 100 ตัน เริ่มตั้งแต่ 1 ธ.ค.-1พ.ย.66 จ่ายเงินส่วนต่าง 12 งวด ตั้งงบประมาณ 4,743.5 ล้านบาท

“งบ 4,743 ล้านบาท สำหรับเงินส่วนต่างถ้าต้องจ่าย แต่ขณะนี้ยังไม่ต้องจ่าย เพราะราคาอยู่ที่ 3 บาทกว่าแล้ว เกินรายได้ที่ประกันไว้ที่กิโลกรัมละ 2.50 บาท เป็นปีแล้ว” รมว.พาณิชย์ กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการคู่ขนานกับการประกันรายได้ ดังนี้ 1) ช่วยดอกเบี้ย 3% แก่เกษตรกรรายย่อย เพื่อกู้ไปใช้ในการปลูกมันสำปะหลังตั้งงบไว้ 41.4 ล้านบาท 2) ช่วยดอกเบี้ยสถาบันเกษตรกรที่เก็บสต็อกมันสำปะหลังไว้ในช่วงที่มันออกมาก เพื่อไม่ทำให้ราคาตก โดยตั้งงบไว้ 15 ล้านบาท 3) ช่วยดอกเบี้ย 3% ให้กับลานมัน โรงแป้ง หรือโรงงานผลิตเอทานอล ในการนำไปแปรรูปเป็นมันเส้น แป้งมัน หรือเอทานอล และเก็บสต็อกไว้ 3-6 เดือน ตั้งวงเงิน 225 ล้านบาท

“งบประมาณที่ใช้ในมาตรการคู่ขนาน 291.4 ล้านบาท เมื่อรวมกับการประกันรายได้ จะเป็นวงเงินทั้งหมดราว 5,035.3 ล้านบาท จะได้เสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีต่อไปโดยเร็ว” นายจุรินทร์ กล่าว

นอกจากนี้ ที่ประชุม ยังได้ติดตามการขับเคลื่อนให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์มันสำปะหลัง ปี 64-67 โดยมีมติให้จัดตั้งคณะอนุกรรมการ 2 ชุด เพื่อขับเคลื่อนให้เป็นระบบและเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย 1. คณะอนุกรรมการด้านการผลิต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ โดยตั้งแต่ปี 67 จะต้องได้ผลผลิตต่อไร่ไม่น้อยกว่า 5 ตัน/ไร่ จากปัจจุบันทำได้ 3.48 ตัน/ไร่