เข้าหน้าร้อนทีไร มักปรากฏข่าว “เด็กจมน้ำเสียชีวิต”

เข้าหน้าร้อนทีไร มักปรากฏข่าว “เด็กจมน้ำเสียชีวิต” บนหน้าหนังสือพิมพ์

ช่วงปิดเทอมฤดูร้อนนั้น เพราะอากาศที่ร้อนทำให้เด็กชักชวนกันลงเล่นน้ำ เหตุนี้สถิติในรอบ 11 ปี ตั้งแต่ 2546-2556 จึงพบเด็กจมน้ำเสียชีวิตในช่วงเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมมีจำนวนมากที่สุด เฉลี่ยวันละ 4 คน เมื่อดูจากสถิติพบว่าจำนวนเด็กที่เสียชีวิตด้วยการจมน้ำมีอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งการว่ายน้ำเป็นกิจกรรมหน้าร้อนที่เด็กๆมักรวมกลุ่มกับเพื่อนไปเล่นและทำกิจกรรมยามว่างกัน โดยเฉพาะในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม มีอัตราการตายของเด็กจมน้ำสูงที่สุด เนื่องจากอยู่ในช่วงปิดเทอม การว่ายน้ำเป็นทักษะชีวิตหนึ่งของเด็ก แม้เด็กไม่ได้อยู่ในพื้นที่ที่มีแหล่งน้ำ แต่ต้องมีการสอนว่ายน้ำแก่เด็กด้วย เพราะเมื่อเด็กเติบโตขึ้น ต้องเดินทาง ทำกิจกรรมต่างๆ ที่ต้องเจอะเจอกับน้ำ จะสามารถช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุทางน้ำได้

เด็ก

นอกจากนี้ผู้ใหญ่ต้องช่วยกันหาวิธีการป้องกัน ร่วมกันสร้างเครือข่ายทีมงานเพื่อเสริมแหล่งองค์ความรู้ เพื่อนำไปสอนเด็กๆ ให้มีความรู้พื้นฐานเป็นภูมิคุ้มกัน และเป็นกุศลในภายภาคหน้าสำหรับได้ช่วยเหลือเด็กๆ ได้ต่อไป ให้เอาตัวรอดเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์ไม่คาดคิด และลดการตายของเด็กๆ ได้

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก จัดโครงการรณรงค์เพื่อการป้องกันเด็กเสียชีวิตจากการจมน้ำสำหรับเด็กประถม 1 หรืออายุ 7 ปี ว่า มียุทธศาสตร์ของทักษะชีวิต ความปลอดภัยทางน้ำว่า มีด้วยกัน 5 ข้อ เรียกว่า “โครงการ 3 นาที 15 เมตร” ประกอบด้วย

1.การรู้จุดเสี่ยง

2.การลอยตัวให้ได้ 3 นาที

3.การว่ายจากท่าลอยตัวเพื่อเข้าเกาะขอบฝั่งให้ได้ 15 เมตร

4.การช่วยเหลือผู้อื่นโดย การตะโกน โยน ยื่น และ

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม คลิ๊กเลย >> แพทย์เผยวิธีดูแลเมื่อลูกติดโควิด-19 ย้ำกลุ่มเด็กที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

แพทย์เผยวิธีดูแลเมื่อลูกติดโควิด-19 ย้ำกลุ่มเด็กที่ต้องระวังเป็นพิเศษ

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี เผยวิธีดูแลเมื่อบุตรหลานติดโควิด-19 รักษาประคับประคองตามอาการ ย้ำกลุ่มเด็กที่ต้องระวังเป็นพิเศษ งดสัมผัสหรือหอมแก้มโดยไม่จำเป็น

สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) กรมการแพทย์ เปิดเผยวิธีดูแลเมื่อบุตรหลานติดโควิด-19 ว่า แม้การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กส่วนใหญ่กว่า 90% จะมีอาการไม่รุนแรง แต่มีกลุ่มที่ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ คือ เด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี และเด็กที่มีโรคประจำตัว ที่รุนแรง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด ไตวายเรื้อรัง หรือภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ ดังนั้น ควรงดสัมผัสหรือหอมแก้มเด็กเล็กโดยไม่จำเป็น

ทั้งนี้ ระยะฟักตัวของโควิด-19 จะอยู่ภายใน 14 วัน แต่มักมีอาการของโรคใน 4-5 วัน หลังจากที่ได้รับเชื้อ โดยมีอุปกรณ์ที่จำเป็น ได้แก่ ปรอทวัดไข้ ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาแก้ปวด ยาลดไข้ ยาแก้ไอ ส่วนเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว ไม่ค่อยมีความจำเป็น เนื่องจากโควิดสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในปัจจุบันไม่ค่อยก่อให้เกิดอาการปอดบวม อีกทั้งการจับออกซิเจนปลายนิ้วในเด็กมักจะไม่ค่อยแม่นยำ เนื่องจากขนาดของเครื่องมักจะไม่กระชับกับนิ้วของเด็กซึ่งมีขนาดเล็ก จึงเน้นให้สังเกตอาการเป็นหลัก

สำหรับการรักษาเบื้องต้นคือการประคับประคองตามอาการ มีดังนี้

  • มีไข้หรือปวดศีรษะ ให้ทานยาลดไข้ ส่วนใหญ่จะมีอาการไข้ไม่เกิน 2-3 วัน จะค่อยๆ ดีขึ้น
  • มีน้ำมูก ให้ทานยาลดน้ำมูกเท่าที่จำเป็น หรือถ้าน้ำมูกข้นเขียว ในเด็กโตสามารถล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ
  • มีอาการไอ ให้รับประทานยาแก้ไอตามอาการ และจิบน้ำอุ่นบ่อยๆ
  • มีไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส หายใจหอบเร็วกว่าปกติ หน้าอกบุ๋ม ปีกจมูกบาน ตอนหายใจ ปากเขียว ระดับออกซิเจนปลายนิ้วน้อยกว่า 95% ซึมลง งอแง ไม่ดูดนม ไม่กินอาหาร ถ่ายเหลว หรืออาเจียนมากต่อเนื่องกัน ควรรีบนำเด็กไปโรงพยาบาลตามสิทธิ์ หรือโรงพยาบาลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ