สารกันหืนในคุกกี้

คุกกี้ ขนมอบชนิดหนึ่งที่มีวัตถุดิบหลักคือ แป้งสาลี เนยสด เนยขาวหรือมาการีนแล้วอบ เพื่อให้เกิดเนื้อสัมผัสที่แข็ง คุกกี้มีหลายชนิดขึ้นอยู่กับส่วนผสมที่ใช้

เนื่องจากคุกกี้มีส่วนผสมของไขมันจากเนยหรือมาการีนเป็นหลัก ฉะนั้นหากเก็บรักษาไว้นานหรือเก็บรักษาในสภาวะที่ไม่เหมาะสมก็อาจทำให้เกิดกลิ่นหืนได้ ผู้ผลิตบางรายจึงใส่สารกันหืนลงไป ที่นิยมใช้ได้แก่ สาร BHA และ BHT โดยมักใช้ BHA และ BHT ผสมกันเพื่อให้สามารถรักษาคุณภาพของอาหารทั้งสี กลิ่น รสชาติ ป้องกันการหืนได้ดียิ่งขึ้น

คุกกี้

ทว่าสารกันหืนเหล่านี้ ถ้าได้รับปริมาณมากๆ อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายในระยะยาวได้ เช่น มีความเสี่ยงในการเกิดเนื้องอกได้ ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 418 พ.ศ.2563 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข วิธีการใช้ และอัตราส่วนของวัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 2) ได้กำหนดปริมาณที่อนุญาตให้ใช้สารกันหืน BHA และ BHT ในผลิตภัณฑ์ขนมอบ (ผลิตภัณฑ์เบเกอรี) ไว้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม

สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างคุกกี้จำนวน 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านค้า ที่วางขายตามตลาดและห้างสรรพสินค้าในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณสารกันหืน BHA และ BHT ผลปรากฏว่า พบสาร BHA ในคุกกี้ 1 ตัวอย่าง แต่ปริมาณที่พบไม่เกินตามมาตรฐานกำหนด

อ่านข่าวเพิ่มเติม : สีผสมอาหารกับเยลลี่

สีผสมอาหารกับเยลลี่

เยลลี่ ขนมที่ได้รับความนิยมทั้งวัยเด็กและวัยผู้ใหญ่ มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ

เยลลี่ทำจากน้ำผลไม้หรือน้ำผลไม้เข้มข้น แทงมวยพักยก เช่น สับปะรด กระเจี๊ยบ สตรอว์เบอร์รี มะนาว ส้ม มะม่วง นำมาผสมกับน้ำตาล สารทำให้เกิดเจล อาจผสมสี แต่งกลิ่น รส เพื่อดึงดูดความสนใจสีผสมอาหารที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้มี 2 ประเภท คือ สีธรรมชาติและสีสังเคราะห์ โดยกำหนดชนิดอาหารและปริมาณที่อนุญาตให้ใช้แตกต่างกันไป แต่สีที่ผู้ผลิตนิยมใช้ คือ สีสังเคราะห์ เพราะมีราคาถูกกว่า ให้สีสดและสม่ำเสมอกว่า สะดวกต่อการใช้กับอาหาร ปกติสีสังเคราะห์ที่เราทานเข้าไปหากได้รับปริมาณไม่มาก ร่างกายจะกำจัดออกโดยการขับถ่าย แต่หากผู้ผลิตใช้ในปริมาณมากจะส่งผลเสียต่อระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอาหาร เพราะสีสังเคราะห์ส่วนใหญ่มีโลหะหนักปะปนอยู่ เมื่อเข้าสู่ร่างกาย มันจะไปเกาะตัวตามผนังกระเพาะ ทำให้เกิดปัญหากับระบบดูดซึมอาหาร ระบบน้ำย่อยในกระเพาะ หากสะสมมากๆเป็นระยะเวลานาน อาจส่งผลเสียต่อตับ ไตได้

อาหาร

ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 213 พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่และมาร์มาเลดในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท กำหนดให้ใช้สีผสมอาหารในเยลลี่รวมกันได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม วันนี้ สถาบันอาหารได้สุ่มตัวอย่างเยลลี่ 5 ตัวอย่าง จาก 5 ร้านค้าในตลาดย่านต่างๆ เขตกรุงเทพฯ เพื่อนำมาวิเคราะห์ปริมาณสีผสมอาหาร 8 ชนิด ผลปรากฏว่า มีเยลลี่ 4 ตัวอย่าง พบสีผสมอาหาร และชนิดที่พบคือ บริลเลียนต์บลู เอฟซีเอฟ, ซันเซตเยลโลว์ เอฟซีเอฟ และตาร์ตราซีน และเป็นที่น่ายินดีว่าปริมาณที่พบรวมกันยังไม่เกินมาตรฐานกำหนด.